วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การสอบเข้าเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ


          โรงเรียนชุมพลทหารเรือ เป็นโรงเรียนที่ผลิตนายทหารชั้นประทวนให้กับกองทัพเรือ การศึกษานักเรียนจ่าทหารเรือ (นรจ.) จะต้องเข้ารับการฝึกภาคสาธารณศึกษาเพื่อให้มีลักษณะท่าทางเป็นทหาร และรู้จักขนบธรรมเนียมของทหารเรือ ที่ รร.ชุมพล ฯ ยศ.ทร. เป็นเวลา 1 เดือน ก่อนจะแยกย้ายไปศึกษาตามพรรค – เหล่า โดยเหล่าแพทย์เหล่าเดียวจะแยกไปเรียนที่โรงพยาบาสลสมเด็จพระปิ่นเกล้าเป็นเวลา 2 ปี  ส่วนเหล่าอื่นยังคงศึกษาที่ร.ร.ชุมพลฯ ดังนี้
          1.  พรรคนาวิน เหล่าทหารการปืน เหล่าทหารสามัญ เหล่าทหารการเงิน เหล่าทหารสารวัตร เหล่าทหารสรรพาวุธ และพรรคกลิน ศึกษาที่ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ 2 ปี จนจบหลักสูตร
          2.  พรรคพิเศษ เหล่าทหารแพทย์ ศึกษาที่โรงเรียนพยาบาล เป็นเวลา 2 ปี จนจบหลักสูตร
          3.  พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ เหล่าทหารขนส่ง พรรคนาวิกโยธิน และพรรคพิเศษ เหล่าทหารช่างยุทธโยธา เหล่าทหารพลาธิการ ศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ รร.ชุมพล ฯ ยศ.ทร. และศึกษาต่อชั้นปีที่ 2 ที่ โรงเรียนสื่อสาร โรงเรียนการขนส่งทหารเรือ โรงเรียนทหารนาวิกโยธิน โรงเรียนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และโรงเรียนพลาธิการ ตามลำดับ

คุณสมบัติที่สำคัญของผู้สมัคร
          1. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือกำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 หรือสำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือกำลังศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่าของกศน.
          2.  เป็นชายโสด อายุ 17 - 20 ปี สำหรับผู้ที่เป็นทหารกองประจำการ จะต้องสังกัดกองทัพเรือ และปลดเป็นทหารกองหนุนใน 30 เม.ย. หรือทหารกองหนุนสังกัดกองทัพเรือ(ปลดจากทหารกองประจำการเท่านั้น ไม่รับนศท.) ต้องมีอายุ 18 - 24 ปี
          3.  มีสัญชาติไทย และบิดา มารดามีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้

หลักฐานสำคัญที่ต้องใช้ในการสมัคร
          1.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาใบสูติบัตรของผู้สมัคร และสำเนาใบสำคัญทหารกองเกิน (สด.9)
               ***ในกรณีไม่มีใบสูติบัตรต้องมี สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร บิดาและมารดา ที่แสดงสัญชาติของผู้ให้กำเนิด (ปู่-ย่า-ตา-ยาย)
          2.  สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (รบ.) ของสถานศึกษาที่แสดงว่าสำเร็จการศึกษา
          3.  รูปถ่ายสี หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตา ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 12 รูป (ต้องเป็นรูปถ่ายที่ถ่ายไว้ในครั้งเดียวกัน และไม่เกิน 3 เดือน)

การซื้อระเบียบการและใบสมัคร
          1.  ซื้อด้วยตนเอง ประมาณเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ที่
                    -  กรมยุทธศึกษาทหารเรือ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
                    - ห้องสมุดกลางกองทัพเรือ อาคารราชนาวิกสภา กรุงเทพมหานคร
                    -  กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
                    -  โรงเรียนสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ จังหวัดสมุทรปราการ
                    -  โรงเรียนชุมพลทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
                    -  ค่ายตากสิน อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
                    -  ทัพเรือภาคที่ ๓ จังหวัดภูเก็ต
                    -  หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขงทุกเขต
                    -  ร้านสวัสดิการทหารเรือ (นันทอุทยาน)
                    - ร้านสวัสดิการกรมการเงินทหารเรือ (พระราชวังเดิม)
                    -  ร้านสวัสดิการกิจการห้องเย็น (สัตหีบ)
                    - สถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือ (ส.ทร.2 บางนา ส.ทร.3 ภูเก็ต ส.ทร.5 สัตหีบ ส.ทร.8 พิษณุโลก ส.ทร.9 อุบลราชธานี ส.ทร.11 เชียงใหม่ ส.ทร.15 นราธิวาส)
          2.  สั่งซื้อทางไปรษณีย์ ประมาณธันวาคม – มกราคม  โดยจะถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ ราคารวมค่าจัดส่ง โดยธนาณัติสั่งจ่ายในนาม กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ตู้ ปณ.11 ปณภ.พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 ( ให้ส่งทางธนาณัติธรรมดาหรือธนาณัติด่วนพิเศษไม่รับธนาณัติ online )

การรับสมัคร
           1.  สมัครทางไปรษณีย์ ประมาณเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ โดยจะถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ
           2.  สมัครด้วยตนเอง
                    -  ส่วนภูมิภาค ประมาณกลางเดือนมกราคม (ประมาณ 3 วัน) เวลา 09.00 น. - 15.00 น. ตามสถานที่ ดังนี้
                                 - จังหวัดชลบุรี สวนกรมหลวงชุมพร (หนองตะเคียน) อำเภอสัตหีบ - จังหวัดสงขลา สถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือ (ส.ทร.6) อำเภอเมือง
                                 - จังหวัดจันทบุรี ค่ายตากสิน อำเภอเมือง - จังหวัดขอนแก่น โรงเรียนขอนแก่นวิทยาลัย อำเภอเมือง
                      -  ส่วนกลาง ตามสถานที่ ดังนี้
                                   - กรุงเทพมหานคร สำนักงานราชนาวิกสภา เขตบางกอกน้อย ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ (ประมาณ 3 วัน) เวลา 09.00 น. - 15.00 น.
                                    - จังหวัดนครปฐม กรมยุทธศึกษาทหารเรือ อำเภอพุทธมณฑล ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ (ประมาณ 3 วัน) เวลา 09.00 น. - 15.00 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ

การสอบคัดเลือก   ประมาณปลายเดือนมีนาคม
                        - การสอบรอบแรกภาควิชาการ วิชาที่สอบ  ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย และวิชาวิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544
                        - การสอบรอบสอง การสอบรอบสอง ประมาณต้นเดือนเมษายน  โดยมีรายละเอียดดังนี้
                                - การตรวจขนาดพิกัดความสมบูรณ์ของร่างกายรวมทั้งการตรวจโรคและความพิการที่ขัดต่อการเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ  ผลการตรวจของคณะกรรมการที่กรมแพทย์ทหารเรือแต่งตั้งในการตรวจครั้งนี้ถือเป็นเด็ดขาด
                                - การทดสอบสุขภาพจิต เป็นการตรวจสอบลักษณะบุคลิกภาพ  แนวความคิด  อารมณ์  และจิตใจ ซึ่ง ผลการตรวจของคณะกรรมการที่กรมแพทย์ทหารเรือแต่งตั้งในการตรวจในครั้งนี้ถือเป็นเด็ดขาด
                                - การสอบความเหมาะสม  เป็นการสอบการสัมภาษณ์ ท่วงที – วาจา  เพื่อดูลักษณะท่าทาง  และความเหมาะสมในการเป็นทหาร  และความรู้ทั่วไปที่ควรทราบ
                                             > ท่วงที – วาจา (เสียง การพูด)                 20          คะแนน
                                             > ทัศนคติ                                                  10          คะแนน
                                             > ปฏิภาณไหวพริบ                                     60         คะแนน
                                             > ลักษณะท่าทางในการเป็นทหาร             10          คะแนน
                                - การสอบพละศึกษาเป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ดังนี้
                                             > ว่ายน้ำ 50 เมตร                                    100        คะแนน
                                             > วิ่ง 800 เมตร                                        100        คะแนน
                                             > ลุกนั่ง                                                   50        คะแนน
                                             > ดันข้อ                                                   50        คะแนน

สิทธิและประโยชน์ที่นักเรียนจ่าได้รับ
                นักเรียนจ่าทหารเรือในส่วนของกองทัพเรือ ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนชุมพลทหารเรือ และโรงเรียนในสังกัด กองทัพเรือ จะได้รับการประดับยศเป็นจ่าตรีตามพรรคเหล่าที่สำเร็จการศึกษา ในช่วงระหว่างการศึกษานักเรียนจ่าทหารเรือ จะได้รับสิทธิ์และโอกาสดังนี้
                  1. ในช่วงเวลาการศึกษาอยู่ในโรงเรียนชุมพลทหารเรือ
                               -  ได้รับเบี้ยเลี้ยงประจำวัน วันละ 75 บาท เป็นค่าอาหาร
                               -  กองทัพเรือ ออกค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา อาหาร และเครื่องแต่งกายทั้งหมด
                               -  ขณะศึกษาชั้นปีที่ 1  ได้รับเงินเดือน เดือนละ  2920 บาท
                               - ขณะศึกษาชั้นปีที่ 2  ได้รับเงินเดือน เดือนละ 3110 บาท
                               -  นักเรียนจ่าทหารเรือชั้นปีที่ 1  ที่มีผลการศึกษาดี  จะได้รับการพิจารณาสอบคัดเลือกให้เข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนนายเรือและในระหว่างศึกษาที่โรงเรียนนายเรือ  จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นจ่าตรี และได้รับเงินเดือน เดือนละ 5080 บาท  ไปจนจบการศึกษา (ปีละ 2 นาย)
                   2. เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนชุมพลทหารเรือ
                               -  ได้รับการแต่งยศเป็นจ่าตรี  เริ่มรับเงินเดือน เดือนละ 6470 บาท
                               -  ได้รับเบี้ยค่าครองชีพชั่วคราว เดือนละ 2530 บาท
                               -  สำหรับผู้ที่ได้รับการบรรจุให้ปฏิบัติงานบนเรือหลวง จะได้รับเงินเพิ่มประจำตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษสำหรับทหารหน่วยเรือ (พ.น.ร.)  อีกเดือนละ 2700 บาท นอกเหนือจากเงินเดือนตามปรกติ
                                -  เมื่อเป็นนายทหารประทวนแล้วยังมีสิทธิ์สมัครเข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมตามขีดความสามารถของตนเอง ในสาขาอาชีพต่าง ๆ และมีสิทธิ์สอบคัดเลือกไปรับเรือในต่างประเทศ
                                 -  นายทหารประทวนที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสามารถสอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตรและสามารถสอบปรับเทียบคุณวุฒิเป็นนายทหารสัญญาบัตรปริญญาได้ตามตำแหน่งที่กองทัพเรือมีความต้องการ
                                 -  ได้รับสิทธิต่างๆ ที่ทางราชการกำหนด เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษาบุตร ฯลฯ

ลักษณะการศึกษาและการปฏิบัติงานหลังจบการศึกษาของแต่ละพรรค-เหล่า
1. พรรคนาวิน เหล่าทหารการปืน (นว.ป.)  เป็นเจ้าหน้าที่ในการใช้และซ่อมบำรุงระบบอาวุธของเรือรบ และหน่วยรบบนบก
2. พรรคนาวิน เหล่าทหารสามัญ (นว.ส.) เป็นเจ้าหน้าที่ในการใช้เครื่องมือเดินเรือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเรือ  รวมทั้งงานธุรการที่เกี่ยวข้อง
3. พรรคนาวิน เหล่าทหารสารวัตร (นว.สห.) เป็นเจ้าหน้าที่ ดูแลระเบียบวินัยทหาร  การรักษาความปลอดภัยพื้นที่ และ บุคคลสำคัญ
4. พรรคนาวิน เหล่าทหารขนส่ง (นว.ขส.) เป็นพลขับและเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงยานพาหนะ
5. พรรคนาวิน เหล่าทหารสรรพาวุธ (นว.สพ.) เป็นเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงและจัดเก็บอาวุธและวัตถุระเบิดประเภทต่าง ๆ ในเรือและหน่วยบก
6. พรรคกลิน (กล.) เป็นเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ และระบบไฟฟ้าภายในเรือ เจ้าหน้าที่ประจำโรงงานซ่อมบำรุง , อู่ทหารเรือ
7. พรรคกลิน เหล่าาทหารเครื่องกล ช่างเครื่องบิน(กล.ชคบ.) เป็นเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงอากาศยาน ภาคพื้น และปฏิบัติงานบนอากาศยานประเภทต่าง ๆ
8. พรรคพิเศษ เหล่าทหารพลาธิการ (พศ.พธ.) เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลพัสดุในเรือ และบนหน่วยบก จัดเลี้ยง และรับรองด้านโภชนาการ
9. พรรคพิเศษ เหล่าทหารการเงิน (พศ.กง.) เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลด้านการเงิน เบิกจ่ายเงิน ทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี
10. พรรคนาวิกโยธิน (นย.) เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแลปฏิบัติงานในหน่วยรบบนบก หน่วยรบพิเศษ รวมทั้งการรักษาความปลอดภัยสถานที่ของหน่วยเรือและหน่วยบนบก  
11. พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณเรดาร์ (นว.ญร.) เป็นเจ้าหน้าที่ใช้และซ่อมบำรุงเรดาร์ การติดต่อสื่อสารบนเรือรบและหน่วยสื่อสารบนบก          
12. พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณวิทยุ (นว.ญว.) เป็นเจ้าหน้าที่ใช้และซ่อมบำรุงเครื่องวิทยุประเภทต่าง ๆการติดต่อสื่อสารบนเรือรบและหน่วยสื่อสารบนบก 
13. พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณโซนาร์ (นว.ญซ.) เป็นเจ้าหน้าที่ใช้และซ่อมบำรุงโซนาร์ (อุปกรณ์ค้นหาวัตถุใต้น้ำ) การติดต่อสื่อสารบนเรือและ หน่วยสื่อสารบนบก
14. พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณทัศนสัญญาณ(นว.ญท.) เป็นเจ้าหน้าที่รับส่งสัญญาณทาง ธง-โคมไฟในเรือ ครูพลศึกษาบนบก
15. พรรคพิเศษ เหล่าทหารช่างยุทธโยธา ไฟฟ้า (พศ.ยย.ฟฟ.) เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลซ่อมบำรุง ระบบไฟฟ้า ตามหน่วยงาน โรงงาน ในกองทัพเรือ
16. พรรคพิเศษ เหล่าทหารช่างยุทธโยธา อิเล็กทรอนิกส์ (พศ.ยย.อล.) เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบไฟฟ้าอาวุธ ของหน่วยรบ บนบก และในเรือรบ 
17. พรรคพิเศษ เหล่าทหารแพทย์ (พศ.พ.) เป็นจ่าพยาบาล (เทคนิคการแพทย์) ผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่บริการพยาบาลในโรงพยาบาลและหน่วยกำลังรบ ต่าง ๆของกองทัพเรือ ออกปฏิบัติราชการชายแดน


การเลือก พรรค – เหล่า                
          คณะกรรมการสอบคัดเลือกฯ จะดำเนินการเกี่ยวกับการเลือก พรรค – เหล่า  โดยใช้ความสมัครใจประกอบกับคะแนนสอบคัดเลือกฯ  ที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ตัดสิน ซึ่งผู้สมัครสอบจะทราบพรรค – เหล่า  ของตนเองในวันประกาศผลการสอบ  ถ้ามี  พรรค – เหล่า ใดว่างลงอันเนื่องมาจากมีผู้สมัครน้อยหรือสละสิทธิ์  คณะกรรมการสอบคัดเลือกฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการจัด พรรค – เหล่า นั้นๆ ให้แก่ผู้สมัครสอบเพื่อให้ครบจำนวนตามที่ทางราชการต้องการ                เงื่อนไขในการเลือกพรรค – เหล่า มีดังนี้                               

          - พรรคนาวิน  เหล่าทหารสามัญ   พรรคนาวิน เหล่าทหารการปืน   พรรคนาวิน เหล่าทหารขนส่ง   พรรคนาวิน เหล่าทหารสรรพาวุธ   พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ – วิทยุ  พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ – เรดาห์  พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ – โซนาร์  พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ – ทัศนสัญญาณ  พรรคนาวิกโยธิน พรรคกลิน  พรคกลิน เหล่าทหารเครื่องกล – ช่างเครื่องบิน  ต้องสำเร็จหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพของกระทรวงศึกษาธิการ                               
          - พรรคนาวินเหล่าทหารสารวัตร ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพของกระทรวงศึกษาธิการ และมีความสูงไม่น้อยกว่า 165 เซนติเมตร                               
          - พรรคพิเศษเหล่าทหารแพทย์ ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย มีคะแนนเฉลี่ยสะสม 2.00 ขึ้นไป และต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมดังนี้                                               
                     > วิชาวิทยาศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต                                       
                      > วิชาคณิตศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต                               
          - พรรคพิเศษเหล่าทหารช่างยุทธโยธา – อิเล็กทรอนิกส์  ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย และต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมดังนี้                                               
                      > วิชาวิทยาศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต                                      
                       > วิชาคณิตศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หรือสำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม (ช่างอิเล็กทรอนิกส์)                               
           - พรรคพิเศษเหล่าทหารช่างยุทธโยธา – ไฟฟ้า  ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย และต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมดังนี้                                               
                       > วิชาวิทยาศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต                                     
                        > วิชาคณิตศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หรือสำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม (ช่างไฟฟ้า)                               
          - พรรคพิเศษ เหล่าทหารพลาธิการ เหล่าทหารการเงิน  ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพพาณิชยกรรม

// ADMIN อัศวินน้อย //
The Road To Soldier & Police เส้นทางสู่อาชีพทหาร - ตำรวจ
แฟนเพจ : https://www.facebook.com/theroadtosoldierpoliceth
บล็อกเกอร์ : http://theroadtosoldierpoliceth.blogspot.com/
เฟสบุ๊ค : https://www.facebook.com/litleknighttheroadspadmin



16 ความคิดเห็น:

  1. สอบถามเพิ่มเติมค้ะ..
    ถ้าลูกชายเรียน กศน.ม.6 อยู่แต่ยังไม่จบไปลองสนามสอบได้ไหมค่ะ..
    และถ้าลองสนามและสอบได้ติดทั่งภาควิชาการ และ พละจะมีโอกาสได้เข้าเรียนไหมค่ะ
    ถามเป็นความรู้เพื่อเตรียมตัวสอบค่ะ
    เพราะพลาดจากเตรียมทหารมา3ปี.แล้วค่ะ

    ตอบลบ
  2. รับสมัครผุ้หญิงหรือป่าวค้ะ
    เรียนจบมา.6สายวิทยา-คณิต

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ครับ. แต่อาจจะมีรับสมัครในแต่ละหน่วยงาน

      ลบ
    2. แล้วถ้าผมเป็นทหารเกณของ ทบ. ไปสมัครได้ป่าวคับ
      เขาจะรับไหมคับ?

      ลบ
  3. มีรอยสักจะสามารถสมัครได้มั้ยคับหรือต้องไป่ลบรอยสักก่อนคับ

    ตอบลบ
  4. ขออนุญาตสอบถามครับ ถ้าผมเป็นทหารกองประจำการในส่วนของกองทัพบก 1/59 เมื่อปลดประจำการแล้ว
    ผมสามารถสมัครสอบนักเรียนจ่าในส่วนของกองทัพเรือได้ไหมครับ หรือเขาจำกัดแค่ในส่วนของกองทัพเรือ
    เท่านั้นครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สอบได้ครับ แต่ต้องอายุไม่เกินที่กำหนด

      ลบ
  5. ในหัวข้อคุณสมบัติที่สำคัญของผู้สมัครที่บอกว่าไม่รับนศท.นิคือยังไงคับผมเรียนนศท.อยู่ปี2ตอนนี้ว่านะสมัครสอบตอนจบม.6 แล้วจะสมัครสอบใด้ป่าวคับ

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ30 พฤษภาคม 2560 เวลา 18:50

    ค่าเทอมเท่าไหร่คะ

    ตอบลบ
  7. จบ ปวช.3 สมัครได้ป่าวครับ

    ตอบลบ
  8. เรียน นศทไม่ได้หลอ

    ตอบลบ
  9. รบกวนสอบถามใด้รึไม่ค่ะ ว่าจบจากสถาบันนี้ ใด้เป็นจ่าเอก เลยมั้ยค่ะ

    ตอบลบ