วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เปิดรับสมัครทหารกองหนุน เพื่อสอบคัดเลือกเป็นทหารชั้นประทวน อัตราสิบเอก จำนวน 200 อัตรา รุ่นที่ 3



ประกาศหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
เรื่อง รับสมัครทหารกองหนุนบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหารประทวน

_____________________________

1. หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ มี ความประสงค์รับสมัครทหารกองหนุน เพื่อสอบคัดเลือกบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหารประทวน (อัตรา ส.อ.) ในตำแหน่งต่างๆ ของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษจำนวน 200 อัตรา

2. คุณสมบัติทั่วไป
          2.1 ทหารกองหนุน ประเภทที่ 1 ซึ่งเคยรับราชการเป็นทหารกองประจำการ หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหาร โดยมีอายุไม่เกิน 28 ปีบริบูรณ์
          2.2 สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าขึ้นไป ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจะต้องสำเร็จการศึกษาและได้รับระเบียนแสดงผลการเรียนภายในวันที่ปิดรับ สมัครเท่านั้น
          2.3 เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนในการขอแต่งตั้งยศเป็นนายทหารประทวน ตามข้อบังคับ กระทรวงกลาโหมว่าด้วยการแต่งตั้งยศทหาร พ.ศ.2507 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
          2.4 ผู้สมัคร และบิดา มารดา มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาหรือมารดาเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาหรือบิดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทย โดยกำเนิดก็ได้
          2.5 มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทาง และขนาดร่างกายเหมาะแก่การเป็นทหาร ไม่เป็นโรคที่ขัดต่อการรับราชการที่กาหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการ ไม่พบรอยสักนอกร่มผ้า และไม่พบร่องรอยการเจาะหู
          2.6 ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม ไม่เป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
          2.7 ไม่อยู่ในสมณะเพศ
          2.8 ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างต้องคดีอาญา และไม่เคยต้องคำพิพากษาโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดในลักษณะลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
          2.9 ไม่เคยทุจริตในการสมัครสอบคัดเลือกเข้ารับราชการในทุกหน่วยมาก่อน
          2.10 ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติดหรือสารเคมีเสพติดให้โทษ หรืออยู่ในระหว่างเป็นจำเลยในคดีอาญา

3. ข้อกำหนด
          3.1 ผู้ที่มีคุณวุฒิสูงกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ 2.2 จะใช้คุณวุฒิต่างๆ ที่สูงกว่านั้นมาเรียกร้องสิทธิบรรจุตามคุณวุฒิที่ตนมีอยู่ไม่ได้
          3.2 เมื่อได้รับการบรรจุตามข้อ 3.1 แล้วจะต้องเข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตรปรับพื้นฐานนักรบพิเศษ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ กรณีไม่สำเร็จการฝึกอบรม หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จะให้ออกจากราชการก็ได้
          3.3 กรณีตรวจพบประวัติเสียเกี่ยวกับยาเสพติด หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จะให้ออกจากราชการ

4. หลักฐานประกอบการรับสมัคร
          4.1 ใบสมัคร (ตามแบบของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษกำหนด)
          4.2 เอกสารแสดงคุณวุฒิ เช่น ประกาศนียบัตร ใบสุทธิ หรือระเบียนแสดงผลการเรียนฉบับจริงและสำเนา จำนวน 1 ชุด
          4.3 บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับตัวจริง พร้อมสำเนา จำนวน 1 ชุด)
          4.4 สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร และบิดา มารดา จำนวน 1 ชุด
          4.5 สำเนาสูติบัตร จำนวน 1 ฉบับ
          4.6 หนังสือสาคัญทางทหาร (สด.8) หรือหนังสือสาคัญ สด.3 และหนังสือรับรองจากหน่วยต้นสังกัดที่เคยรับราชการอยู่ ซึ่งรับรองว่าได้รับราชการในกองประจำการ ผลัดใด ตั้งแต่เมื่อใด และปลดประจำการเมื่อใด มาแสดง และต้องสามารถนา สด.8 มาส่งได้ภายในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2557
          4.7 รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกและแว่นตา ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป (ไม่เกิน 6 เดือน)
          4.8 สาเนาหลักฐานอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว, ชื่อสกุล, ใบมรณบัตรถ้าบิดามารดาถึงแก่กรรมแล้ว

5. การสอบภาควิชาการ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ทำการทดสอบ ดังนี้.- (เฉพาะผู้ผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกายเท่านั้น)
          5.1 ภาษาไทย          (25 คะแนน)
          5.2 คณิตศาสตร์       (25 คะแนน)
          5.3 วิทยาศาสตร์       (25 คะแนน)
          5.4 ภาษาอังกฤษ      (25 คะแนน)

6. การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
          6.1 ดันพื้น 32 ครั้งขึ้นไป                       (20 คะแนน)
          6.2 ลุก – นั่ง 50 ครั้งขึ้นไป                    (20 คะแนน)
          6.3 ดึงข้อ 9 ครั้งขึ้นไป                          (20 คะแนน)
          6.4 วิ่ง 1.6 กม. ไม่เกิน 8 นาที               (20 คะแนน)
          6.5 ว่ายน้ำ 100 ม. ไม่เกิน 2.35 นาที    (20 คะแนน)

7. การสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 20 คะแนน)

8. กำหนดจำหน่ายระเบียบการรับสมัคร, วันรับสมัคร และสอบคัดเลือก
          8.1 จำหน่ายระเบียบการรับสมัครใน 1- 31 ตุลาคม 2557 ณ กองบัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่เวลา 0800 – 1600 เว้นวันหยุดราชการ
          8.2 รับสมัคร ใน 27–31  ตุลาคม 2557 ณ แหล่งชุมนุมทหารรบพิเศษ (1) ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่เวลา 0800–1600 เว้นวันหยุดราชการ

9. สอบคัดเลือก
          9.1 ใน 6 - 7 พฤศจิกายน 2557 ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ณ สนามหน้ากองบัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ผู้สมัครสอบคัดเลือกรายงานตัวหน้าศาลาสีหราชเดโช เวลา 0630 – 0700 นำกางเกงว่ายน้ำมาด้วย (รับประทานอาหารเช้าให้เรียบร้อย มารายงานตัวเกิน 0700 ถือว่าสละสิทธิ์, ไม่มีสิทธิ์เข้าทดสอบ) โดยแยกการทดสอบฯ ดังนี้.-
               - หมายเลข 00001 – 03000 ทดสอบฯ ในวันที่ 6  พฤศจิกายน 2557
               - หมายเลข 03001 – 06000 ทดสอบฯ ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2557

          9.2 ใน 8 พฤศจิกายน 2557 ทดสอบภาควิชาการ ณ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ค่ายนารายณ์ศึกษา ผู้ผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย รายงานตัวหน้าศาลเจ้าแม่จามเทวี เวลา 1200 นำปากกาสีน้ำเงินมาด้วย (รับประทานอาหารกลางวันให้เรียบร้อย)
          9.3 ใน 9 พฤศจิกายน 2557 สอบสัมภาษณ์ ณ กองบัญชาการและกองร้อยกองบัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ผู้ผ่านการสอบภาควิชาการ รายงานตัว ณ หน้ากองร้อยกองบัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เวลา 0800 การแต่งกายชุดสุภาพ (รับประทานอาหารเช้าให้เรียบร้อย)
          9.4 ให้นำบัตรประจำตัวประชาชน และบัตรที่เจ้าหน้าที่รับสมัครออกให้มาแสดงต่อกรรมการคุมสอบในวันเข้าสอบทุกครั้ง

10. ประกาศผลสอบครั้งสุดท้าย ใน 11 พฤศจิกายน 2557 ณ กองบัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เวลา 1000 และทางเวปไซด์ www.swc.rta.mi.th

11. ใน 12 พฤศจิกายน 2557 ผู้สอบได้ตัวจริงรายงานตัวทำสัญญา ณ กองบัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ทั้งนี้ จะต้องนาผลการตรวจโรคจากโรงพยาบาลทหารมาด้วย

12.ใน 13 พฤศจิกายน 2557 เวลา 0830 พิมพ์รายนิ้วมือตรวจสอบประวัติอาชญากรรม ณ แหลงชุมนุมนายทหารรบพิเศษ

13. ใน 1 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 0800 รายงานตัวฝึกปรับพื้นฐานนักรบพิเศษ ณ กองบัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (บรรจุเข้ารับราชการ ตั้งแต่ 1กุมภาพันธ์  2558 เป็นต้นไป) ระยะเวลาการฝึก 8 สัปดาห์ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 31 มีนาคม 2558

14. ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่กองกำลังพลหน่วยบัญชาการสงคราม พิเศษ ค่ายสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โทรศัพท์ (036) 413412 หรือ 084-4524225 ในวันและเวลาราชการ

ขอบคุณ Army Etc.

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การสอบเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ โรงเรียนจ่าอากาศ


          โรงเรียนจ่าอากาศ เป็นโรงเรียนที่ผลิตนายทหารชั้นประทวน ให้กับกองทัพอากาศ การศึกษานักเรียนจ่าอากาศ (นจอ.) จะมี 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ 3 ปีสำหรับนักเรียนที่สอบหลังจบม.3 และหลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ 2 ปี สำหรับนักเรียนที่สอบหลังจบม.6/ปวช. และหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ระดับต้น 2 ปี สำหรับนักเรียนที่สอบหลังจบม.6 โดยแต่ละหลักสูตรจะมีเหล่าให้เลือกศึกษา ดังนี้
            1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ 3 ปี ได้แก่
                      - ช่างอากาศ ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างอากาศยาน, เครื่องยนต์ลูกสูบ, เครื่องยนต์ก๊าซเทอร์ไบน์,ใบพัดอากาศยาน, เฮลิคอปเตอร์, เครื่องวัดประกอบการบิน, เครื่องช่วยในการเดินอากาศ,เครื่องกำเนิดไฟฟ้าในอากาศยาน, ระบบไฟฟ้าในอากาศยาน
                      - สื่อสาร ศึกษาเกี่ยวกับช่างสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ภาคพื้น, ประจำอากาศยาน, ช่างเรดาร์,ช่างโทรคมนาคม, ช่างเครื่องวัด, ช่างโทรศัพท์และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการสื่อสาร
                      - สรรพาวุธ ศึกษาเกี่ยวกับอาวุธภาคอากาศ, ภาคพื้น, อาวุธติดตั้งกับเครื่องบิน, เรดาร์ควบคุมการยิง, อาวุธนำวิถีพื้นสู่อากาศ, วัตถุระเบิดทางทหารและนิรภัยวัตถุระเบิด, การทำลายวัตถุระเบิดขั้นพื้นฐาน, ชนวน
            2. หลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ 2 ปี ได้แก่
                      - ต้นหน (จำพวกทหารควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ) ศึกษา เกี่ยวกับ การเฝ้าตรวจทางอากาศ, การพิสูจน์ฝ่าย, การควบคุมการบินสกัดกั้น, อากาศพลศาสตร์, สงครามอิเล็กทรอนิกส์, การบริการจราจรทางอากาศ, นิรภัยการบิน, การติดต่อสื่อสารในการควบคุมจราจรทางอากาศ, การบริการข่าวสารการบิน และการควบคุมทางอากาศยุทธวิธี
                      - อุตุ ศึกษา เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติ ส่วนประกอบและชั้นต่างๆ ของบรรยากาศการเกิด ปรากฏการณ์ต่างๆทางอุตุนิยมวิทยาฤดูกาล การอ่านและการเขียนแผนที่ทางอากาศตามรหัสสากลขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกการเฝ้าติดตามสภาพอากาศโดยต่อเนื่องตลอดเวลา รวมถึงการให้บริการข่าวอากาศแก่ผู้ต้องการใช้ข่าวอากาศด้วยระบบการรับ-ส่งข่าวอากาศอัตโนมัติที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา
                      - สารวัตร ศึกษา เกี่ยวกับวิชากฎหมาย, แบบธรรมเนียมทหาร, วิชาการทหารสารวัตร, วิชาการประชาสัมพันธ์
                      - อากาศโยธิน ศึกษา เกี่ยวกับผู้นำและการบังคับบัญชา, ครูทหาร, ยุทธวิธีการรบ, การป้องกันฐานบินการปฏิบัติการพิเศษ (คอมมานโด/ค้นหาและช่วยชีวิต), การโดดร่มจากอากาศยาน, การยิงอาวุธด้วยกระสุนจริง
            3. หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ระดับต้น 2 ปี ได้แก่
                      - แพทย์ (สาขาวิชาพยาบาล) ศึกษาเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยา, การพยาบาลเวชศาสตร์การบิน, ลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ, การพยาบาลรากฐาน, การพยาบาลจิตเวชศาสตร์, การพยาบาลอนามัยชุมชน, การพยาบาลผู้ใหญ่, การพยาบาลสูติศาสตร์, การพยาบาลทหาร,การพยาบาลเด็ก

คุณสมบัติที่สำคัญของผู้สมัคร
             1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ 3 ปี ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้                       
                         1 เป็นชายโสด อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 18 ปี ในปีที่จะเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ(นับตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 คือ ปี พ.ศ.ปัจจุบันลบด้วยปี พ.ศ.ที่เกิด)                        
                         2 คุณวุฒิ สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า มีผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.00                       
                         3 มีสัญชาติไทย และบิดา มารดาผู้ให้กำเนิด มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด (เกิดในประเทศไทย) ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร หรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดา มิใช่ผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้                       
                         4 มีรูปร่าง ลักษณะท่าทาง ขนาดของร่างกาย และอวัยวะ เหมาะสมแก่การเป็นทหารไม่เป็นโรค และความพิการของร่างกาย ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร และระเบียบกองทัพอากาศว่าด้วยมาตรฐานการตรวจทางแพทย์ของบุคคลที่สมัครเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ พ.ศ.2511
                          5 ไม่เคยมีภรรยาไม่ว่าจะถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม                       
                          6 ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว                       
                          7 ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม                       
                          8 ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นผู้ต้องหาหรือเป็นจำเลยในคดีอาญาและไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท                       
                          9 ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างพักราชการเนื่องจากความผิด หรือหนีราชการ หรือไม่เคยเป็นผู้ถูกปลดเพราะความผิด หรือถูกไล่ออกจากราชการ หรือถูกไล่ออกจากโรงเรียนทหารของกระทรวงกลาโหมหรือสถาบันการศึกษาใดๆ                      
                          10 ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ หรือสารเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ                                               11 ไม่เป็นผู้อยู่ในสมณเพศ                      
                          12 เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ                                 13 ไม่เป็นผู้มีรอยสักใดๆ ที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย

            2. หลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ 2 ปี ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้                      
                           1 เป็นชายโสด อายุไม่ต่ำกว่า 17 ปี และไม่เกิน 20 ปี ในปีที่จะเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ(นับตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 คือ ปี พ.ศ.ปัจจุบัน ลบด้วย ปี พ.ศ.ที่เกิด)                       
                           2 คุณวุฒิสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่าและมีผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00                      
                           3 มีสัญชาติไทย และบิดา มารดาผู้ให้กำเนิด มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด (เกิดในประเทศไทย) ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร หรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดา มิใช่ผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้                      
                           4 มีรูปร่าง ลักษณะท่าทาง ขนาดของร่างกาย และอวัยวะ เหมาะสมแก่การเป็นทหาร ไม่เป็นโรค และความพิการของร่างกายตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหารและระเบียบกองทัพอากาศว่าด้วยมาตรฐานการตรวจร่างกายทางแพทย์ฯ                      
                            5 ไม่เคยมีภรรยาไม่ว่าจะถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม                      
                            6 ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว                        
                            7 ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม
                            8 ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นผู้ต้องหาหรือเป็นจำเลยในคดีอาญาและไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท                      
                            9 ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างพักราชการเนื่องจากความผิด หรือหนีราชการ หรือไม่เคยเป็นผู้ถูกปลดเพราะความผิด หรือถูกไล่ออกจากราชการ หรือถูกไล่ออกจากโรงเรียนทหารของกระทรวงกลาโหมหรือสถาบันการศึกษาใดๆ                     
                            10 ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ หรือสารเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ                                                   11 ไม่เป็นผู้อยู่ในสมณเพศ                     
                            12 เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ                     
                            13 ไม่เป็นผู้มีรอยสักใดๆ ที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
                                  ** เหล่าต้นหน และอุตุ จะต้องจบม.6 แผนวิทย์-คณิต **
                                  ** หากจบแผนศิลป์ หรือปวช. หรืออื่นๆ จะเลือกได้เฉพาะเหล่าสารวัตร และอากาศโยธินเท่านั้น ** 

            3. หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ระดับต้น 2 ปี ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้                     
                             1 เป็นชายโสด อายุไม่ต่ำกว่า 17 ปี และไม่เกิน 20 ปี ในปีที่จะเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ(นับตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 คือ ปี พ.ศ.ปัจจุบัน ลบด้วย ปี พ.ศ.ที่เกิด)
                             2 คุณวุฒิสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์) และมีผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00                    
                             3 มีสัญชาติไทย และบิดา มารดาผู้ให้กำเนิด มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด (เกิดในประเทศไทย)ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร หรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดา มิใช่ผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้                   
                             4 มีรูปร่าง ลักษณะท่าทาง ขนาดของร่างกาย และอวัยวะ เหมาะสมแก่การเป็นทหารไม่เป็นโรค และความพิการของร่างกาย ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหารและระเบียบกองทัพอากาศ ว่าด้วยมาตรฐานการตรวจร่างกายทางแพทย์ฯ                    
                             5 เป็นชายโสด และไม่เคยมีภรรยาไม่ว่าจะถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม             
                             6 ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว                   
                             7 ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม
                             8 ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นผู้ต้องหาหรือเป็นจำเลยในคดีอาญาและไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท                   
                             9 ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างพักราชการเนื่องจากความผิด หรือหนีราชการ หรือไม่เคยเป็นผู้ถูกปลดเพราะความผิด หรือถูกไล่ออกจากราชการ หรือถูกไล่ออกจากโรงเรียนทหารของกระทรวงกลาโหมหรือสถาบันการศึกษาใดๆ                   
                             10 ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ หรือสารเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ                                              11 ไม่เป็นผู้อยู่ในสมณเพศ                   
                             12 เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ                   
                             13 ไม่เป็นผู้มีรอยสักใดๆ ที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ขนาดพิกัดร่างกาย

จำนวนรับ แต่ละปีรับจำนวนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอัตราที่อนุมัติ เฉลี่ยประมาณ 220-250 นาย

การรับสมัคร
           1.  สมัครทางไปรษณีย์ ประมาณเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ โดยจะถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ (ซื้อระเบียบการหรือโหลดใบสมัครทาง อินเตอร์เน็ต http://www.atts.ac.th หรือ http://www.atts.rtaf.mi.th
           2.  สมัครด้วยตนเอง ที่อาคารรณนภากาศ โรงเรียนนายเรืออากาศ ถนนพหลโยธิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ โดยไม่ต้องเตรียมรูปถ่าย(ถ่ายรูปกับกองรับสมัคร) ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ (มีระเบียบการจำหน่าย)
           3. สมัครทางอินเตอ์เน็ต ประมาณเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ทาง http://www.atts.ac.thหรือ http://www.atts.rtaf.mi.th)

การสอบคัดเลือก
              - การสอบรอบแรกภาควิชาการ ประมาณต้นเดือนมีนาคม วิชาที่สอบ  ได้แก่
                                - วิชาคณิตศาสตร์ 175 คะแนน
                                - วิชาภาษาอังกฤษ 150 คะแนน
                                - วิชาภาษาไทย 100 คะแนน
                                - วิชาวิทยาศาสตร์ 175 คะแนน
ตามหลักสูตรปัจจุบันของกระทรวงศึกษาธิการ
              - การสอบรอบสอง การสอบรอบสอง ประมาณต้นเดือนเมษายน  โดยมีรายละเอียดดังนี้
                                - การตรวจขนาดพิกัดความสมบูรณ์ของร่างกายรวมทั้งการตรวจโรคและความพิการที่ขัด ต่อการเป็นนักเรียนจ่าอากาศ  ผลการตรวจของคณะกรรมการที่กรมแพทย์ทหารอากาศแต่งตั้งในการตรวจครั้งนี้ถือ เป็นเด็ดขาด
                                - การทดสอบสุขภาพจิต(สอบความถนัดและวิภาววิสัย) เป็นการตรวจสอบลักษณะบุคลิกภาพ  แนวความคิด  อารมณ์  และจิตใจ ซึ่ง ผลการตรวจของคณะกรรมการในการตรวจถือเป็นเด็ดขาด
                                - การสอบความเหมาะสม  เป็นการสอบการสัมภาษณ์ ท่วงที – วาจา  เพื่อดูลักษณะท่าทาง  และความเหมาะสมในการเป็นทหาร  และความรู้ทั่วไปที่ควรทราบ (100 คะแนน)
                                            - การปฏิบัติตามคำสั่ง 20 คะแนน (ความเข้าใจคำสั่ง, ความรวดเร็ว,ความถูกต้อง, ความเข้มแข็ง และควบคุมอารมณ์)                                           
                                            - ลักษณะทหาร 20 คะแนน (ความสมส่วน, ความสมบูรณ์ส่วนบน,ความสมบูรณ์ส่วนล่าง, ลักษณะการเคลื่อนไหว และความเหมาะสมส่วนรวม)                                           
                                            - ท่วงทีวาจา 20 คะแนน (เสียงดัง, ไม่ติดอ่าง, ความชัดเจน, ความปกติของเสียงและความถูกต้องของภาษาพูด)                                           
                                            - ปฏิภาณไหวพริบ 20 คะแนน (ความคล่องแคล่วในการตอบ, ตัดสินใจรวดเร็วถูกต้อง, การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า, ความเชื่อมั่นในตนเอง และความคิดสร้างสรรค์)                                           
                                            - ความรู้รอบตัว 20 คะแนน (เกี่ยวกับตนเอง, การทหาร, กองทัพอากาศ, การเมืองและศาสนา, สังคม, วัฒนธรรม)
                                - การสอบพละศึกษาเป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ดังนี้
                                             - สถานีที่ 1 ดึงข้อราวเดี่ยว (10 ครั้ง) 20 คะแนน
                                             - สถานีที่ 2 วิ่งระยะทาง 1,000 เมตร 20 คะแนน
                                             - สถานีที่ 3 ลุก-นั่ง จับเวลา 30 วินาที 20 คะแนน
                                             - สถานีที่ 4 ยืนอยู่กับที่กระโดดไกล 20 คะแนน
                                             - สถานีที่ 5 ว่ายน้ำ จับเวลา ระยะทาง 50 เมตร 20 คะแนน
                                 - การส่งเอกสารผลคะแนนเฉลี่ยรวม ที่ไม่ต่ำกว่า 2.00

สิทธิและประโยชน์ที่นักเรียนจ่าอากาศได้รับ
            1 ได้รับจ่ายสิ่งของจากราชการตามอัตราจ่ายที่ทางราชการกำหนด           
            2 ได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 75 บาท (เบี้ยเลี้ยงกรณีไปราชการนอกที่ตั้งปกติวันละ 94.- บาท)           
            3 ได้รับเงินเดือนตามพระราชกฤษฎีกา การปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการทหารกองประจำการและนักเรียนทหารในสังกัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2554 ดังนี้                   
                       1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ                           
                               - ชั้นปีที่ 1 รับเงินเดือน พ.1/10 เดือนละ 2,610 บาท                           
                               - ชั้นปีที่ 2 รับเงินเดือน พ.1/12 เดือนละ 2,890 บาท                           
                               - ชั้นปีที่ 3 รับเงินเดือน พ.1/13 เดือนละ 3,070 บาท                    
                        2 หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ ระดับต้น                           
                               - ชั้นปีที่ 1 รับเงินเดือน พ.1/13 เดือนละ 3,070 บาท                           
                               - ชั้นปีที่ 2 รับเงินเดือน พ.1/14 เดือนละ 3,270 บาท
                        3 หลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ                           
                               - ชั้นปีที่ 1 รับเงินเดือน พ.1/13 เดือนละ 3,070 บาท                           
                               - ชั้นปีที่ 2 รับเงินเดือน พ.1/14 เดือนละ 3,270 บาท
            4 โรงเรียนจ่าอากาศประกอบเลี้ยงอาหารทุกวัน วันละ 3มื้อ โดยใช้เงินเบี้ยเลี้ยงบางส่วนเป็นค่าอาหาร           
            5 ได้รับสิทธิ์ในการคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนทุน กองทัพอากาศ ศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร ในส่วนกองทัพอากาศ ตามหลักเกณฑ์ที่กองทัพอากาศกำหนด (อายุไม่เกิน 17 ปีบริบูรณ์ ในปีที่สมัครเป็นนักเรียนจ่าอากาศ = เฉพาะผู้สอบวุฒิม.3)

สิทธิประโยชน์เมื่อสำเร็จการศึกษา     
            นักเรียนจ่าอากาศทุกเหล่าทหาร เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรจะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งยศเป็นจ่าอากาศตรี รับเงินเดือนตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการทหารและการให้ได้รับเงินเดือน พ.ศ.2549 ดังนี้                     
             1 สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ (วุฒิ ม.3) ศึกษา 3 ปี รับเงินเดือนเดือนละ 6,140 บาท                     
             2 สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ ระดับต้น (วุฒิ ม.6) ศึกษา 2 ปี รับเงินเดือนเดือนละ 6,800 บาท                     
             3 สำเร็จหลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ (วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า) ศึกษา 2 ปี รับเงินเดือนเดือนละ 6,800 บาท                     
             4 สำเร็จหลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ (วุฒิ ปวช.หรือเทียบเท่า) ศึกษา 2 ปี รับเงินเดือนเดือนละ 7,460 บาท                      
             อัตราเงินเดือนดังกล่าว เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม ท้ายพระราชกฤษฎีกา การปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการฯ

ความก้าวหน้าในอาชีพ
             1 การศึกษา, ฝึกงาน หรือดูงานทั้งในและต่างประเทศผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนจ่าอากาศทุกเหล่าทหาร เมื่อรับราชการครบ 2 ปี มีสิทธิ์สมัครสอบคัดเลือกไปศึกษา ฝึกงาน หรือดูงานทั้งใน และต่างประเทศ ตามที่ทางราชการกำหนด             
              2 เลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนจ่าอากาศ เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ทางราชการกำหนดมีสิทธิ์สอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร ตามความต้องการบรรจุกำลังพลในแต่ละปี (ครองยศพันจ่าอากาศเอก มีอายุ 36-39 ปี) ทั้งนี้ยังมีสิทธิสอบแข่งกับบุคคลพลเรือนในการสอบของบุคคลภายนอกประจำปีงบประมาณด้วย 

ความก้าวหน้าในแต่ละเหล่า
            1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ 3 ปี ได้แก่
                      - ช่างอากาศ สามารถสอบคัดเลือกไปศึกษาดูงานต่างประเทศ สอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร สามารถออกไปปฏิบัติงานสายการบินพาณิชย์ได้   หรือถ้าได้ทำงานบนอากาศยานจะได้รับเงินเพิ่ม 4,200 บาทต่อเดือน                     
- สื่อสาร  เป็นจนท.สถานีวิทยุ ทอ., ศึกษาดูงานต่างประเทศ, เลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร, สามารถออกไปปฏิบัติงาน  
สายการบินพาณิชย์และบริษัทวิทยุการบินฯ ได้
                      - สรรพาวุธ  สอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร, สามารถสอบคัดเลือกปฏิบัติงานในหน่วยทำลายวัตถุระเบิด(มีเงินเพิ่ม), ศึกษาอบรมเกี่ยวกับระบบอาวุธในต่างประเทศ
            2. หลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ 2 ปี ได้แก่
                      - ต้นหน สอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร, ศึกษาอบรมด้านการป้องกันทางอากาศในต่างประเทศ, สอบเป็นพนักงาน บ.วิทยุการบินฯ, สอบเป็นพนักงาน บ.การท่าอากาศไทย, สอบเป็นข้าราชการกรมการขนส่งทางอากาศ, สอบเป็นพนักงานสถาบันการบินพลเรือน
                      - อุตุ สอบเลื่อนฐานะขึ้นเป็นนายทหารสัญญาบัตร สอบคัดเลือกเพื่อไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ศึกษาอบรมด้านอุตุนิยมวิทยาในระดับนักพยากรณ์อากาศ
            3. หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ระดับต้น 2 ปี
                      - เลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร  มีสิทธิ์ขอสอบเพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น 2, สามารถศึกษาต่อหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต

// ADMIN อัศวินน้อย //
The Road To Soldier & Police เส้นทางสู่อาชีพทหาร - ตำรวจ
แฟนเพจ : https://www.facebook.com/theroadtosoldierpoliceth
บล็อกเกอร์ : http://theroadtosoldierpoliceth.blogspot.com/
เฟสบุ๊ค : https://www.facebook.com/litleknighttheroadspadmin

หน้าที่เหล่าทหารบก (สำหรับการตัดสินใจเลือกเหล่า)


1. ทหารราบ  กำลังพลด้านนี้มาจากนักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารราบ นักเรียนนายสิบเหล่าทหารราบ(ศร.) ทหารกองหนุน(เฉพาะจากทหารเกณฑ์)เหล่าทหารราบที่สอบบรรจุส่วนกำลังรบ และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (บางปีรับบุคคลภายนอกวุฒิป.ตรีเข้าเป็นอาจารย์ ส่วนมากจะเป็นด้านวิศวกรรม หรือวิชาทั่วไป เช่น สังคม ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ) เป็นเหล่าทหารหลักในการรบของกองทัพบก  มีหน้าที่เข้าแย่งยึดพื้นที่ซึ่งทหารเหล่าอื่น ๆ  มาสามารถกระทำได้  โดยใช้อาวุธประหน่วยทหารราบหรือด้วยความช่วยเหลือของทหารเหล่าอื่น  เนื่องจากเหล่าทหารราบเป็นเหล่าที่เคลื่อนที่ด้วยเท้าได้ทุกภูมิประเทศและฤดูกาล  ไม่จำกัดดินฟ้าอากาศ  ทำการรบได้ทุกภูมิประเทศและเหตุการณ์  จึงมีหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ  ทำการสังหารหรือจับข้าศึกที่ยึดพื้นที่อยู่  ขับไล่  ไล่ติดตาม  หรือทำให้ข้าศึกอลหม่าน  นอกจากนี้เป็นเหล่าที่มีจำนวนทหาร  อาวุธ  เครื่องมือ  เครื่องใช้ในการรบมาก  บางครั้งสามารถทำการรบได้  โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากทหารเล่าอื่น  จึงมีหน้าที่ในการยึดและรักษาพื้นที่ซึ่งเข้าครอบครองไว้โดยไม่ยอมถอนตัว  แม้ว่าในปัจจุบันจะมียานยนต์และอาวุธต่าง ๆ  เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วก็ตาม  หน้าที่ของทหารราบก็ยังมีความสำคัญอยู่เช่นเดิม

2. ทหารม้า  กำลังพลด้านนี้มาจากนักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารม้า ทหารกองหนุน(เฉพาะจากทหารเกณฑ์)เหล่าทหารม้าที่สอบบรรจุส่วนกำลังรบ และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (บางปีรับบุคคลภายนอกวุฒิป.ตรีเข้าเป็นอาจารย์ ส่วนมากจะเป็นด้านวิศวกรรม หรือวิชาทั่วไป เช่น สังคม ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ) ได้แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  แต่ละประเภทมีหน้าที่แตกต่างกันดังนี้
2.1 ทหารม้ารถถัง  มีหน้าที่ดำเนินกลยุทธ์  เข้าประชิดและทำลายข้าศึกโดยใช้คุณลักษณะ  ดังนี้ > มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่
> มีเกราะป้องกันตนเอง
> มีอำนาจการยิงที่รุนแรง
> มีอำนาจการทำลายและข่มขวัญ
2.2 ทหารม้าลาดตระเวนไม่ว่าจะเป็นกองพันทหารม้ายานยนต์  และกองพันทหารม้าลาดตระเวน  จะมีหน้าที่ในการปฏิบัติการลาดตระเวนและระวังป้องกันให้กับหน่วยเหนือและหน่วยที่ไปขึ้นสมทบโดยทำการรบด้วยวิธีการรุก ราบและรบหน่วงเวลา
2.3 ทหารม้าบรรทุกยานเกราะ  เป็นหน่วยที่มีหน้าที่ดำเนินกลยุทธ์หลักโดยมียานยนต์สายพานหุ้มเกราะหรือยานหุ้มเกราะอื่นใดนอกเหนือจากรถถังเป็นยานรบหลัก  ทำการรบบนยานพาหนะเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารม้ารถถังโดยตลอด  จะลงรบบนดินต่อเมื่อมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินกลยุทธ์ทางพื้นดิน  เพื่อชดเชยจุดอ่อนของทหารม้ารถถังเท่านั้น
สำหรับทหารม้าขี่ม้าในปัจจุบันกองทัพบกยังคงสงวนเอาไว้เพียง  1  กองพัน  คือ  กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (ม.พัน 1 รอ.) มีหน้าที่แห่นำตามเสด็จเป็นการเชิดชูเกียรติวัฒนธรรมประเพณีของชาติ

3. ทหารปืนใหญ่  กำลังพลด้านนี้มาจากนักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารปืนใหญ่ ทหารกองหนุน(เฉพาะจากทหารเกณฑ์)เหล่าทหารปืนใหญ่ที่สอบบรรจุส่วนกำลังรบ และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (บางปีรับบุคคลภายนอกวุฒิป.ตรีเข้าเป็นอาจารย์ ส่วนมากจะเป็นด้านวิศวกรรม หรือวิชาทั่วไป เช่น สังคม ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ) ทำการรบด้วยอำนาจการยิง  จึงมีหน้าที่ช่วยเหลือทหารราบในการยิงฉากเพื่อให้ทหารราบปฏิบัติการได้สะดวก  นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ยิงช่วยโดยตรง  และยิงคุ้มครองทหารราบในการเข้าตีดังนั้นทหารปืนใหญ่กับทหารราบ  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติการร่วมกันอย่างแน่นแฟ้น  และยังมีทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน  ซึ่งมีหน้าที่ทำการร่วมกับเครื่องบินขับไล่ป้องกันภัยทางอากาศ  หรือสถานที่และตำบลสำคัญทางพื้นดิน  หรืออากาศยานของเราและทำการยิงนำให้เครื่องบินของเราเห็นเครื่องบินข้าศึกในเวลากลางคืน  อาจใช้ไฟฉายช่วยก็ได้

4. ทหารช่าง  กำลังพลด้านนี้มาจากนักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารช่าง ทหารกองหนุน(เฉพาะจากทหารเกณฑ์)เหล่าทหารช่างที่สอบบรรจุส่วนกำลังรบ นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า บุคคลทั่วไปวุฒิปวช.ด้านช่างที่สอบบรรจุทหารชั้นประทวนตามหน่วยของกองทัพบก และบุคคลทั่วไปวุฒิป.ตรี-โทที่สอบบรรจุทหารชั้นสัญญาบัตรของทบ.(จะเป็นวุฒิด้านวิศวกรรม วิทย์คอม สถาปัตย์) เป็นเหล่าทหารเทคนิคในการช่าง  จึงมีหน้าที่ในการสร้างดัดแปลงซ่อมแซมถนนและสะพาน  ฯลฯ  และงานทั้งปวงที่จะต้องจัดและเตรียมการนอกจากนี้ทหารช่างสามารถทำการรบร่วมกับทหารราบในการเข้าตีที่มั่นถาวรหรือที่มั่นดัดแปลงอย่างแข็งแรงของข้าศึกได้

5. ทหารสื่อสาร  กำลังพลด้านนี้มาจากนักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารสื่อสาร ทหารกองหนุน(เฉพาะจากทหารเกณฑ์)เหล่าทหารสื่อสารที่สอบบรรจุส่วนกำลังรบ นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า บุคคลทั่วไปวุฒิปวช.ด้านช่างที่สอบบรรจุทหารชั้นประทวนตามหน่วยของกองทัพบก และบุคคลทั่วไปวุฒิป.ตรี-โทที่สอบบรรจุทหารชั้นสัญญาบัตรของทบ.(จะเป็นวุฒิด้านวิศวกรรม คอม ไฟฟ้า อิเล็กฯ) มีหน้าที่ในการใช้เครื่องมือสื่อสาร  เช่น  วิทยุ  โทรศัพท์  ทัศนสัญญาณ  การนำสาร  ฯลฯ

6. ทหารขนส่ง  กำลังพลด้านนี้มาจากนักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารขนส่ง นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า บุคคลทั่วไปวุฒิม.6/ปวช.ด้านช่างที่สอบบรรจุทหารชั้นประทวนตามหน่วยของกองทัพบก และบุคคลทั่วไปวุฒิป.ตรี-โทที่สอบบรรจุทหารชั้นสัญญาบัตรของทบ.(จะเป็นวุฒิด้านวิศวกรรมยานยนต์ เครื่องกล ฯลฯ) มีหน้าที่ลำเลียงโดยตรงและลำเลียงเพิ่มเติม  โดยใช้รถไฟ  รถยนต์  เรือ  สัตว์ต่าง ๆ  ฯลฯ  และอาจได้รับมอบให้ควบคุมป้องกัน  รักษาหน่วยลำเลียงด้วย

7. ทหารสรรพาวุธ  กำลังพลด้านนี้มาจากนักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารสรรพาวุธ นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า บุคคลทั่วไปวุฒิปวช.ด้านช่างที่สอบบรรจุทหารชั้นประทวนตามหน่วยของกองทัพบก และบุคคลทั่วไปวุฒิป.ตรี-โทที่สอบบรรจุทหารชั้นสัญญาบัตรของทบ.(จะเป็นวุฒิด้านวิศวกรรมยานยนต์ เครื่องกล ฯลฯ)  มีหน้าที่พิจารณาคิดค้นอาวุธยุทธโธปกรณ์   จะทำประโยชน์ให้แก่ราชการ  นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ตรวจ  เก็บรักษา  แนะนำและแก้ไขซ่อมแซมอาวุธต่าง ๆ  ให้ใช้การได้อยู่เสมอ

8. ทหารพลาธิการ  กำลังพลด้านนี้มาจากนักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารพลาธิการ นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า บุคคลทั่วไปวุฒิม.6/ปวช.ที่สอบบรรจุทหารชั้นประทวนตามหน่วยของกองทัพบก และบุคคลทั่วไปวุฒิป.ตรี-โทที่สอบบรรจุทหารชั้นสัญญาบัตรของทบ.(จะเป็นวุฒิด้านวิศวกรรมเครื่องกล อุตสาหการ การผลิต เคมี ฯลฯ)  มีหน้าที่ในการเลี้ยงดู  บำรุงหน่วยทหารให้ได้รับความสุขสมบูรณ์ในเรื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ  มีหน้าที่ในการเพิ่มกำลังและส่งกำลัง  เก็บรักษาจ่ายของประจำหน่วยทหาร  และอาวุธกระสุน

9. ทหารสารวัตร  กำลังพลด้านนี้มาจากนักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารสารวัตร นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า บุคคลทั่วไปวุฒิม.6/ปวช.ที่สอบบรรจุทหารชั้นประทวนตามหน่วยของกองทัพบก และบุคคลทั่วไปวุฒิป.ตรี-โทที่สอบบรรจุทหารชั้นสัญญาบัตรของทบ.(รับเฉพาะเพศชาย จะเป็นวุฒินิติศาสตร์เท่านั้น)  มีหน้าที่เกี่ยวกับการสารวัตรทหาร  กิจการเชลยศึกรักษาความสงบเรียบร้อยและระเบียบวินัยทหาร,  การจราจร,  การอพยพของหลบภัย  ป้องกัน  สืบสวนและสอบสวนอาชญากรรมในกองทัพบก  จับกุมผู้ขาดหนีราชการ

10. ทหารสารบรรณ  กำลังพลด้านนี้มาจากบุคคลทั่วไปวุฒิปวช.ที่สอบบรรจุทหารชั้นประทวนตามหน่วยของกองทัพบก(พวกตำแหน่งเสมียนต่างๆ) และบุคคลทั่วไปวุฒิป.ตรี-โทที่สอบบรรจุทหารชั้นสัญญาบัตรของทบ.(จะเป็นวุฒิด้านคอมพิวเตอร์ พุทธศาสนา เปรียญ9ประโยค ฯลฯ) มีหน้าที่ดำเนินงานธุรกิจ  การรับ – ส่ง  แยกหนังสือราชการ  การบรรจุ  เลื่อน  ปลดและย้ายตำแหน่ง  การเบี้ยหวัด  การบำเหน็จบำนาญ  และลงทัณฑ์  และประวัติการโต้ตอบ  การพิมพ์โฆษณา  การกฎหมาย  การสัสดี  และหน้าที่อื่น ๆ  ที่ได้รับมอบ

11. ทหารการเงิน  กำลังพลด้านนี้มาจากนักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารการเงิน บุคคลทั่วไปวุฒิปวช.ด้านพณิชยการทุกสาขาที่เรียนบัญชีไม่ต่ำกว่า 30 หน่วยกิตที่สอบบรรจุทหารชั้นประทวนของกรมการเงินทหารบก และบุคคลทั่วไปวุฒิป.ตรี-โทที่สอบบรรจุทหารชั้นสัญญาบัตรของทบ.(จะเป็นวุฒิด้านการเงิน การบัญชี การธนาคารเท่านั้น)  มีหน้าที่เบิกจ่ายเงินเดือน  เบี้ยเลี้ยง  เงินค่าใช้สอยต่าง ๆ  มีหน้าที่ควบคุมการใช้จ่ายของหน่วยทหารให้เป็นไปตามระเบียบแบบธรรมเนียมของทหารด้วย

12. ทหารพระธรรมนูญ  กำลังพลด้านนี้มาจากทหารสังกัดกองทัพบก จะเปิดสอบภายใน (รับเฉพาะเพศชาย จะเป็นวุฒินิติศาสตร์เท่านั้น)  มีหน้าที่ควบคุมปฏิบัติตามกฎหมาย  และระเบียบแบบธรรมเนียมของทหาร  ดำเนินการไปในกระบวนยุติธรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้นแก่บุคคลหรือทหารและหน่วยทหาร  ในการพิจารณาฟ้องร้อง  ตัดสินพิจารณาไปตามตัวบทกฎหมายนั้น ๆ

13. ทหารแพทย์  กำลังพลด้านนี้มาจากนักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารแพทย์ นักเรียนแพทย์ทหาร วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า นักเรียนพยาบาลกองทัพบก บุคคลทั่วไปวุฒิม.6/ปวช.ที่สอบบรรจุทหารชั้นประทวนของกรมแพทย์ทหารบก และบุคคลทั่วไปวุฒิป.ตรี-โทที่สอบบรรจุทหารชั้นสัญญาบัตรของทบ.(จะเป็นวุฒิเภสัช กายภาพบำบัด รังสี ทันตะกรรม โภชนาการ วิทยาศาสตร์การอาหาร เทคนิคการแพทย์ จิตวิทยา และสังคมสงเคราะห์)  มีหน้าที่ในการรักษาพยาบาลทั้งในยามปกติและยามสงคราม  ทั้งมีหน้าที่ตรวจตราการสุขาภิบาล  และการอนามัยของหน่วยทหารตลอดจนการควบคุมและแนะนำในเรื่องการรักษาพยาบาล  เพื่อให้มีกำลังสำหรับปฏิบัติเต็มตามอัตราอยู่เสมอ

14. ทหารแผนที่  กำลังพลด้านนี้มาจากนักเรียนนายสิบแผนที่ นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า  และบุคคลทั่วไปวุฒิป.ตรี-โทที่สอบบรรจุทหารชั้นสัญญาบัตรของทบ.(จะเป็นวุฒิวิศวกรรมสำรวจ) มีหน้าที่ทำแผนที่ตำบลต่าง ๆ  ให้แก่หน่วยทหาร  เพื่อใช้ในการเดินทางและดำเนินกลยุทธ์ได้ตามภูมิประเทศและสำรวจเส้นทางแก้ไขเพิ่มเติมราละเอียดในแผนที่ของตำบลต่าง ๆ  ให้ถูกต้องตรงกับภูมิประเทศที่เป็นจริงอยู่เสมอ

15. ทหารการสัตว์  กำลังพลด้านนี้มาจากนักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารการสัตว์ บุคคลทั่วไปวุฒิม.3-ม.6/เทียบเท่าที่สอบบรรจุเป็นพลอาสาสมัครและทหารชั้นประทวนของกรมการสัตว์ทหารบก และบุคคลทั่วไปวุฒิป.ตรี-โทที่สอบบรรจุทหารชั้นสัญญาบัตรของทบ.(จะเป็นวุฒิสัตวศาสตร์ เกษตรศาสตร์) มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดความต้องการ  การผลิต  การจัดหา  การส่งกำลังบำรุง  การบริการส่งกำลังสายการสัตว์  การบำรุงและผสมพันธุ์สัตว์  การเสบียงสัตว์  สนับสนุนการปฏิบัติการทางทหารด้วยการใช้สัตว์และการเกษตรของกองทัพบก

16. ทหารดุริยางค์  กำลังพลด้านนี้มาจากนักเรียนดุริยางค์ทหารบก บุคคลทั่วไปวุฒิม.3-6 ที่สอบเป็นพนักงานราชการแล้วได้บรรจุภายหลัง และบุคคลทั่วไปเพศชาย(บางครั้งรับเฉพาะทหารกองหนุน)วุฒิม.3ที่สอบบรรจุเป็นพลดุริยางค์(พลอาสาสมัคร) มีหน้าที่ให้ความบันเทิงเพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดของทหารและหน่วยทหาร  ปลุกใจและบำรุงขวัญทหารด้วยดนตรี  เอให้ทหารได้มีกำลังใจและภูมิใจในเกียรติของนักรบและเข้มแข็งในการปฏิบัติหน้าที่

17. ทหารการข่าว  กำลังพลด้านนี้มาจากนักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารการข่าว และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับข่าวทางทหารทั้งปวงและปฏิบัติการพิเศษในด้านการข่าว  รวมทั้งทูตฝ่ายทหารบก  และกิจการต่างประเทศของกองทัพบกกำหนดความต้องการ  และกำกับการเกี่ยวกับการแจกจ่ายแผนที่ทหาร

// ADMIN อัศวินน้อย //
The Road To Soldier & Police เส้นทางสู่อาชีพทหาร - ตำรวจ
บล็อกเกอร์ : http://theroadtosoldierpoliceth.blogspot.com/